มะแฮะ

   
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cajanus canja (L) Millsp.
   
ลักษณะทั่วไป ถั่วมะแฮะเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนกึ่งแห้งแล้ง ปริมาณฝน 500 - 2,000 มิลลิเมตรต่อปี ทนต่อสภาพแห้งแล้งและอุณหภูมิสูงได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น ๆ
สามารถทนแล้งได้ยาวนานถึง 6 เดือน การปรับเข้าสภาพแวดล้อมได้กว้างมากขึ้นได้ระดับความสูง 0 -1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลเจริญเติบโรได้ดี
บนดินหลายชนิด แต่ดินร่วนที่มีการระบายน้ำจะได้ผลผลิตใบและเมล็ดสูงไม่ทนต่อสภาพน้ำแช่ขัง ความเป็นกรดเป็นด่างของดินระหว่าง 4.5 - 8
มีระบบรากแก้วและรากแขนงจำนวนมากและหยั่งลึกสามารถดูธาตุฟอสฟอรัสได้ดี จึงทำให้เกิดการหมุนเวียน ธาตุฟอสฟอรัสจากดินชั้นล่างสู่ผิวดิน
โดยทั่วไปถั่วมะแฮะมักปลูกในลักษณะพืชไร่ เพื่อเก็บเมล็ดมากกว่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น ลำต้นและกิ่งใช้เป็นชื้อเพลิงปัจจุบัน
   
วิธีการปลูก การปลูกถั่วมะแฮะควรเตรียมดินอย่างดี แล้วปลูกถั่วมะแฮะโดยใช้เมล็ดโดยตรง ไม่มีความจำเป็นต้องคลุกเชื้อไรโซเบียม หรือแช่เมล็ดก่อนปลูกควรปลูก
ช่วงต้นฤดูฝน ขณะดินมีความชื้นพอเพียง (พฤษภาคม - มิถุนายน)
   
อัตราเมล็ดที่ใช้ปลูก การปลูกแบบหว่านเพื่อไถกลบใช้เมล็ดประมาณ 3-5 กิโลกรัมต่อไร่
ปลูกเป็นหลุมใช้เมล็ด 2-4 กิโลกรัมต่อไร่
   
การใช้ประโยชน

ใบของถึ่งมะแฮะจึงนำมาใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้เป็นอย่างดี จึงนิยมปลูกเป็นพืชแซม เช่น แซมกับธัญญพืช แซมกับถั่วลิสง โดยใช้ถั่วลิสง 6 แถว แซมด้วย ถั่วมะแฮะ 1 แถว
ใช้เป็นพืชร่มเงากับพืชยืนต้นในช่วงแรก ๆ  2 - 3  ปี เช่น ไม้ผล ชา กาแฟ โกโก้ ในภาคเหนือใช้ถั่วมะแฮะปลูกร่วมกับกระถินในอัตราเมล็ด 1 : 1 แล้วนำไปโรยเป็นแถวขวาง
ความลาดเท ระยะห่างของแถวตามค่าต่างระดับในแนวดิ่ง 1 - 3 เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งถั่วมะแฮะจะโตได้เร็วกว่ากระถินในระยะ 1 - 2 ปีแรก
หลังจากนั้นถั่วมะแฮะจะตายคงเหลือแต่แนวกระถินเป็นแนวถาวรต่อไป ถั่วมะแฮะสามารถใช้เป็นพืชอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มโปรตีนในอาหารสัตว์ ลำต้นใช้เป็นฟืนเป็นแหล่งเชื้อเพลิงได้

 

    << ย้อนกลับ