1. ถั่วพร้าเมล็ดยาว (Jack bean) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Canavalia ensiformis |
|
|
ลักษณะโดยทั่วไป |
เป็นพืชตระกูลถั่วเมืองร้อน ลักษณะเป็นทรงพุ่มเจริญเติบโตและปรับตัวได้ดีในสภาพดินฟ้าอากาศเกือบทุกภาคของประเทศไทยได้ทั้งภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีลำต้นแข็งแรงและระบบรากลึก สามารถขึ้นได้ดีในสภาพดินเหนียวและดินกรด
ปลูกในช่วงเวลาต้นฤดูฝน
|
|
|
วิธีการปลูก |
ปลูกเป็นหลุม ระยะปลูก 50 x 50 ซม.ใช้เมล็ดอัตรา 10-12 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ วิธีการหว่านแล้วพรวนกลบเมล็ด ถ้าปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ใช้ระยะปลูก
70 x 100 ซม. อัตราเมล็ด 10 กิโลกรัมต่อไร่ |
|
|
การใช้ประโยชน์ |
- เพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ควรทำการไถกลบเมื่ออายุประมาณ 64 วัน ระยะออกดอกให้ผลผลิตน้ำหนักสด 3-4 ตันต่อไร่
ให้ปริมาณธาตุไนโตรเจนประมาณ 35.55 กิโลกรัมต่อไร่
1. ถั่วพร้าชอบทำเลพื้นที่ที่มีแดดค่อนข้างจัด แต่ก็สามารถขึ้นได้ดีในบริเวณพุ่มเงาไม้
ทนแล้งและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีฝนตกน้อย ประมาณ 700 มม. จนกระทั่ง
ฝนตกมากถึง 4,200 มม. ต่อปี โดยทั่วไปชอบดินดอนระบายน้ำดี
ทนต่อสภาพความเค็มได้ดีกว่าพืชถั่วชนิดอื่น ๆ
2. เพื่อใช้คลุมดิน ป้องกันการชะล้างพังทลายใช้คลุมได้อายุสั้นไม่เกิน 6 เดือน
เพราะมีทรงพุ่มแตกกิ่งก้านสาขาได้ดี ใบขนาดใหญ่ประสานกัน มีจำนวนมาก
จึงสามารถป้องกันเม็ดฝนตกกระทบผิวดินได้ น้ำหนักสดที่มีผลต่อการคลุมดิน
ประมาณ 4 ตันต่อไร่ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูง |
|
|
ปริมาณธาตุอาหารที่ได้ |
หลังจากไถกลบ 2-3 สัปดาห์ สามารถปลูกพืชหลักตามได้ มีเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารN, P, K ประมาณ 3.04, 0.37 และ 3.12 ตามลำดับ |
|
|
2. ถั่วพร้าเมล็ดแดง (Sword bean) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Canavalia gladiata |
|
|
ลักษณะโดยทั่วไป |
ลักษณะแตกต่างจากถั่วพร้าเมล็ดขาวตรงที่จะมียอดออกสีแดงและเลื้อย ฝักจะมีขนาดใหญ่กว่า และเมล็ดจะมีสีแดง หรือสีแดงลายี |
|
|
วิธีการปลูก |
การใช้ประโยชน์และปริมาณธาตุอาหารที่ได้เช่นเดียวกันกับถั่วพร้าเมล็ดขาว |
|
|
|
|
|
|