|
|
|
|
|
การใช้สารเร่ง
ซุปเปอร์พด.1 ทำปุ๋ยหมัก |
|
ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ได้จากการนำเศษพืช
เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว เศษหญ้าและเศษพืชต่างๆ มาหมักร่วม |
กับมูลสัตว์
ปุ๋ยเคมีและสารเร่งจุลินทรีย์ ทำการหมักและคลุกเคล้า(กลับกอง) ตามระยะเวลา
จนกระทั่งเศษพืชย่อยสลายเปลี่ยนสภาพจากเดิมเป็นผง
เปื่อยยุ่ย ร่วนและมีสีน้ำตาลปนดำ จึงนำไปผสมดินหรือนำไปใส่ในไร่นา |
|
ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก |
|
1. ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย
2. ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี
4. สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง
5. ช่วยลดปริมาณขยะและการเผาทำลาย
6. ช่วยทำลายโรคคนและโรคพืชได้
7. ช่วยทำลายไข่ หนอน แมลงและเมล็ดวัชพืช
|
|
วัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก |
|
1.
เศษพืช ซึ่งเป็นวัสดุหลัก
2. มูลสัตว์ต่างๆ เช่น ขี้วัว ขี้ควาย ขี้เป็ด ขี้ไก่
3.ปุ๋ยเคมีต่างๆที่มีไนโตรเจนสูงๆ(ปุ๋ยยูเรีย)
4. สารเร่งหรือเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ |
|
ควรกองปุ๋ยหมักไว้ในที่ไหนดี |
|
1.ควรอยู่ใกล้กองเศษพืช
2. อยู่ใกล้แหล่งน้ำ
3.อยู่บนที่ดอนน้ำไม่ท่วมขัง
4.อยู่ใกล้แหล่งที่จะนำปุ๋ยหมักไปใช้
5.หากมีปริมาณมาก,ใช้เครื่องจักรกลปฏิบัติงานต้องมีพื้นที่พอสมควร |
|
วิธีการกองปุ๋ยหมัก |
|
แบบใช้เศษพืช/มูลสัตว์/ปุ๋ยเคมี/สารเร่งจุลินทรีย์
อัตราส่วน เศษพืช 1,000 กก./มูลสัตว์ 200กก./ปุ๋ยยูเรีย 2 กก./สารเร่ง
1ซอง |
ควรแบ่งทำทีละชั้น
โดยกองเศษพืชแล้วรดน้ำ ย้ำให้แน่น ใส่วัสดุแต่ละชนิดตามลำดับ ให้เศษพืชหนาชั้นละประมาณ
30-50 ซม.ชั้นบนสุดใช้ดินกลบ
ให้หนา 2-3 นิ้ว เพื่อป้องกันแดดเผาและรักษาความชุ่มชื้นจากนั้นควบคุมความชื้นไม่แห้งหรือเปียกจนเกินไปควรกลับกองทุก7-10
วัน ภายใน
30-45 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักใช้ |
|
|
ปุ๋ยหมักใช้ได้หรือยัง
สังเกตง่ายๆ คือ |
|
1.
สีของปุ๋ยจะเข้มขึ้น ( มีสีน้ำตาลคล้ำ-ดำ )
2. อุณหภูมิภายในกองลดลง( ไม่ร้อน )
3. เศษพืชจะมีลักษณะเปื่อยยุ่ย
4. กลิ่นไม่เหม็น (หอมเหมือนดินธรรมชาติ)
5. อาจพบต้นพืชขึ้นบนกอง
|
|
วิธีการใช้และอัตราการใช้ปุ๋ยหมัก |
|
1.
คลุกเคล้ากับดินรองก้นหลุมก่อนปลูกไม้ผลยืนต้น อัตรา 10-30 กก./ต้น
2. ใส่เพิ่มเติมรอบทรงพุ่ม(แล้วพรวนดินกลบ)อัตรา 20-50 กก./ต้น อย่างน้อยปีละครั้ง
3. ผสมดินปลูกไม้กระถาง ถุงเพาะชำกล้าไม้ ใช้สัดส่วน ดิน / ปุ๋ยหมัก
/ ทราย สัดส่วน 4 / 3 / 3 ถึง 4 / 1 / 1
4. ในแปลงพืชผัก ไม้ดอกไม้ ใช้อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ส่วนในแปลงพืชไร่หรือนาข้าวแนะนำให้ใช้ปุ๋ยพืชสดจะสะดวกกว่า
และที่ง่ายที่สุดคือ การไถพรวนตอซังหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทุกครั้ง(ทันที) |
|
|
|
|
|
การใช้สารเร่ง
ซุปเปอร์พด.2 |
|
น้ำหมักชีวภาพ
หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของเหลวที่ประกอบด้วยกรดอินทรีย์ และฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบ |
โตพืชหลายชนิดผลิตได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้หรือสัตว์
ซึ่งมีลักษณะสดหรืออวบน้ำ ให้เป็นของเหลวออกมาโดยเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์
์ในสภาพที่ ไม่มีออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ การผลิตน้ำหมักชีวภาพโดยใช้สารเร่ง
พด.2 1 ถุง (25 กรัม) ผลิตได้จำนวน 50 ลิตร |
|
อัตราส่วน
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตรปลาหรือหอยเชอรี่ 3
ส่วน หรือ 30 กิโลกรัม |
|
1.ปลาหรือหอยเชอรี่
3 ส่วน หรือ 30 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 1 ส่วน 10 กิโลกรัม
3. รำข้าวละเอียด 5 กิโลกรัม
4. ผลไม้ 1 ส่วน 10 กิโลกรัม
5. น้ำ 1 ส่วน 10 ลิตร
6. ซุปเปอร์พด.2 2ซอง |
|
วิธีการทำ
|
|
1.
นำสารเร่ง ซุปเปอร์พด.2 จำนวน 2 ซอง ผสมน้ำ 10-15 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
2. ผสมวัสดุพืชหรือสัตว์ (สับให้ละเอียดก่อนหมัก) กากน้ำตาล ลงในถังหมัก
ขนาด 100 ลิตร แล้วเทสารละลาย พด.2
ในข้อ 1 ผสมในถังหมัก
3. คุลกเคล้าหรือคนส่วนผสมให้เข้ากันอีกครั้ง แล้วตั้งในที่ร่ม
4. กรณีทำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหรือหอยเชอรี่ให้คนหรือกวน ทุก 7 วัน เพื่อระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท หมักไว้ 21 วัน |
|
อัตราส่วน
น้ำหมักชีวภาพผักหรือผลไม้ 4 ส่วน หรือ
40 กิโลกรัม |
|
1.ผักหรือผลไม้
4 ส่วน หรือ 40 กิโลกรัม
2.กากน้ำตาล 1 ส่วน 10 กิโลกรัม
3.น้ำ 1 ส่วน 10 ลิตร
4.รำข้าวละเอียด 5 กิโลกรัม
5.สารเร่งซุปเปอร์พด.2 จำนวน 1 ซอง |
|
วิธีการทำ
|
|
1.
นำสารเร่ง ซุปเปอร์พด.2 จำนวน 2 ซอง ผสมน้ำ 10-15 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
2. ผสมวัสดุพืชหรือสัตว์(สับให้ละเอียดก่อนหมัก)กากน้ำตาล ลงในถังหมัก
ขนาด 100 ลิตร แล้วเทสารละลาย
ซุปเปอร์พด.2ในข้อ 1 ผสมในถังหมัก
3. คุลกเคล้าหรือคนส่วนผสมให้เข้ากันอีกครั้ง แล้วตั้งในที่ร่ม
4. กรณีทำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหรือหอยเชอรี่ให้คนหรือกวน ทุก 7 วัน เพื่อระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท |
|
|
|
|
อัตราและวิธีการใช้
|
|
ผสมน้ำหมักชีวภาพ
1 ส่วนกับน้ำ 500 ส่วน หรือ 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบและลำต้น
หรือ
รดลงดิน 10 วันต่อครั้ง |
|
ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
|
|
เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช
เร่งการขยายตัวของใบ และการยืดตัวของลำต้น เร่งการงอกของเมล็ดให้ดีขึ้น |
เร่งให้ออกดอกและติดผลดีขึ้น
|
|
|
|
|
|
การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยใช้สารเร่ง
พด.3 |
|
สารเร่ง
พด.3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน
โดยมีความสามารถป้องกันหรือ |
ยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคพืชที่ทำให้เกิดอาการรากหรือโคนเน่า
และแปรสภาพแร่ธาตุในดินบางชนิดให้เป็นประโยชน์ต่อพืช เจริญได้ดีในดินที่มี
อินทรีย์วัตถุสูงและมีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง
5.5 6.5 ได้แก่ เชื้อไตรโคเดอร์มา (Trchoderma sp.) และบาซิลลัส (Bacillus
sp.)่ |
|
ประโยชน์ของเชื้อ
พด.3 |
|
1.
ป้องกันและควบคุมการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคพืชเศรษฐกิจหลายชนิด ได้แก่ |
-
โรครากและโคนเน่าของไม้ผลและไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน ส้ม และยางพารา
- โรคเน่าคอดินและลำต้นเน่าของพืชไร่ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด
ข้าวโพด พืชเส้นใยและพืชตระกูลถั่ว
- โรคเน่าและเหี่ยวของพืชผักและไม้ดอกไม้ประดับ เช่น พริก มะเขือเทศ
แตง กะหล่ำปลี เบญจมาศ และมะลิเป็นต้น |
|
2.
ช่วยแปรสภาพแร่ธาตุในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
3. ทำให้รากพืชแข็งแรงและพืชเจริญเติบโตได้ดี |
|
วิธีการขยายเชื้อ
พด.3 |
|
1.
วัสดุสำหรับขยายเชื้อ |
-
ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม , รำข้าว 5 กิโลกรัม, สารเร่ง พด.3 2 ถุง (25
กรัม) |
|
2.
วิธีทำ |
-
ผสมสารเร่ง พด.3 และรำข้าวในน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากัน นาย 5 นาที
- รดสารเร่งละลาย พด.3 ลงในกองปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากันและให้มีความชื้น
60 เปอร์เซ็นต์
- ตั้งกองปุ๋ยหมักเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าให้มีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร (กองปุ๋ยหมักให้อยู่ในที่ร่มเป็นเวลา
7 วัน) |
|
|
การดูแลรักษาการขยายเชื้อ
พด.3 |
|
1.
ความชื้น : ให้ความชื้นกองปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอและใช้วัสดุคลุมกองปุ๋ยหมัก
2. การเก็บรักษาเชื้อ พด.3 : หลังจากขยายเชื้อเป็นเวลา 7 วัน เชื้อ พด.3
|
ในกองปุ๋ยหมักจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นโดยสังเกตกลุ่มของสปอร์และเส้นใยทีมีลักษณะสีเขียวเจริญอยู่ในกองปุ๋ยหมักเป็นจำนวน
มาก และคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปเก็บไว้ในที่ร่ม |
|
อัตราและวิธีการใช้เชื้อ
พด.3 |
|
พื้นที่เกษตร
อัตราเชื้อ พด.3 วิธีการใช้ แปลงปลูกพืช |
|
1.
พืชไร่ พืชผัก หรือไม้ดอก ไม้ประดับ
2. ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น 100 กิโลกรัมต่อไร่ 3 กิโลกรัมต่อต้น
ใส่ระหว่าง แถวก่อนหรือหลัง ปลูกพืช
เตรียมหลุมปลูก : ใส่โดยคลุกเคล้ากับดินแล้วใส่ไว้ในหลุม
ต้นพืชที่เจริญแล้ว : ใส่รองทรงพุ่มและหว่านให้ทั่วภายใต้ทรงพุ่ม
แปลงเพาะกล้า 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่10 ตารางเมตรโรยให้ทั่วแปลงเพาะกล้า
|
|
|
|
|
|
|
สารเร่ง
พด.6 สำหรับผลิตสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นจากเศษอาหารเหลือทิ้ง
|
|
ในปัจจุบัน
จำนวนขยะที่เพิ่มขึ้นดูจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผลจากการทิ้งเศษอาหาร
เศษผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ต่างๆ |
ได้ก่อให้เกิดมลภาวะและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กรมพัฒนาที่ดิน เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้มีการพัฒนาสารเร่ง
พด.6 ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดัง
กล่าว โดยการนำขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ต่าง
ๆ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตทาง
การเกษตร มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดคอกสัตว์ บำบัดน้ำเสีย และขจัดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ
และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม |
|
ความหมายของสารเร่ง
พด.6 |
|
สารเร่ง
พด.6 เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักเศษอาหารในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน
เพื่อผลิต |
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
สำหรับทำความสะอาดคอกสัตว์ ปรับสภาพน้ำในบ่อกุ้งหรือบ่อปลา ปรับสภาพน้ำ
บำบัดน้ำเสีย และลดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ ซึ่ง |
|
ประโยชน์ของสารเร่ง
พด.6 |
|
1.
ทำความสะอาดคอกสัตว์ เนื่องจากค่าความเป็นกรดเป็นด่างของปุ๋ยอินทรีย์น้ำอยู่ระหว่าง
3- 4มีผลทำให้จุลินทรีย์ที่ก่อให้
้ เกิดการ เน่าเหม็นไม่สามารถเจริญเติบโตได้
2. ช่วยปรับสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งและบ่อเลี้ยงปลาให้เหมาะสมและส่งเสริมการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำที่เลี้ยง
3. ช่วยบำบัดน้ำเสียและลดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ย่อยโปรตีน
ไขมัน และผลิตกรดอินทรีย์ |
|
วิธีทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากเศษอาหารเหลือทิ้ง
|
|
1.
นำเศษวัสดุและน้ำตาลผสมลงในถังหมัก
2. ละลายสารเร่ง พด.6 ในน้ำ 10 ลิตร แล้วเทลงในถังหมัก
3. คลุกเคล้าหรือคนให้ส่วนผสมเข้ากัน
4. ปิดฝาไม่ต้องสนิท ใช้ระยะเวลาหมัก 20 วัน |
|
|
อัตราและวิธีการใช้
|
|
1.
การทำความสะอาดคอกสัตว์และบำบัดน้ำเสียให้เจือจางปุ๋ยอินทรีย์น้ำ : น้ำ
เท่ากับ 1:10 แล้วเทปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่เจือจาง
แล้วลงบริเวณที่บำบัดทุกวัน หรือทุก ๆ 3 วัน
2. การใส่ในบ่อกุ้ง และบ่อปลา ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 100 มิลลิลิตรต่อปริมาณน้ำในบ่อ
1 ลูกบาศก์เมตร ให้ใส่ทุก ๆ 10 วัน |
|
ประโยชน์ของสารเร่งพด.6 |
|
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่าง ๆ ของพืชหรือสัตว์
โดยผ่านกระบวนการหมักในสภาพที่ |
ไม่มีออกซิเจน(Anaerobic
Condition) มีจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืชและซากสัตว์เหล่านั้น
ให้กลายเป็นสารละลาย รวมถึงการ
ใช้เอนไซด์เพื่อเร่งการย่อยสลาย ทำให้เกิดกระบวนการย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
และได้ของเหลวสีน้ำตาล นับเป็นนวัตกรรมใหม่
่ที่ช่วยส่งเสริมให้สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
และช่วยลดต้นทุนในการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ |
|
|
|
|
|
สารเร่ง
พด.7 สำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช
|
|
เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย
มีการประกอบอาชีพทางการเกษตรและสามารถปลูกพืชได้ตลอดปี เช่น ทำสวนผลไม้ |
ทุเรียน
มังคุด ส้ม ทำไร่ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และสับปะรด เป็นต้น จึงมีผลทำให้สภาพพื้นที่เพาะปลูกเกิดปัญหาด้านศัตรูพืชอย่างรุนแรงและ
ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดมา
ซึ่งก่อให้เกิดสาร
พิษปนเปื้อนในดินและน้ำ และตกค้างอยู่ในผลผลิตทางการเกษตรประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์
ดังนั้นการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการสกัดสาร
กำจัดแมลงศัตรูพืชจากพืชสมุนไพรหลายชนิด ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ ที่ผลิตโดยกรมพัฒนาที่ดิน
คือ สารเร่ง พด.7 สำหรับใช้ผลิตสารป้องกันแมลงศัตรู
ูพืชที่มีคุณภาพ สารสกัดจากพืชสมุนไพรจะมีความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต
และสภาพแวดล้อมน้อยกว่าสารเคมีมาก เนื่องจากมีการสลายตัวได้รวดเร็ว
และจะมีคุณสมบัติในการเป็นสารขับไล่แมลงเป็นส่วนใหญ่ เป็นการช่วยลดปัญหามลพิษที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรดิน
น้ำและสิ่งแวดล้อม รวมถึงให้
้ความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคด้วย |
|
สารเร่ง
พด.7
หมายถึง เชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชสมุนไพร
|
ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน
เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช |
|
สรรพคุณ |
|
ป้องกันแมลงศัตรูพืช
เช่น เพลี้ยชนิดต่าง ๆ หนอนเจาะผลและลำต้น หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนคืบ
หนอนกระทู้ หนอนกอ ไรแดง และแมลงหวี่ เป็นต้น |
|
วัสดุสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช
(จำนวน 50 ลิตร) |
|
1.
สมุนไพร 30 กิโลกรัม
2. น้ำตาล 10 กิโลกรัม
3. น้ำ 30 ลิตร
4. สารเร่ง พด.7 1 ซอง (25 กรัม) |
|
วิธีทำ |
|
1.
สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็ก หรือทุบ
2. ละลายสารเร่ง พด.7 ในน้ำ 30 ลิตร ในถังหมักผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
3. นำสมุนไพรและน้ำตาล ผสมลงในถังหมักคลุกเคล้าให้เข้ากัน
4. ปิดฝาไม่ต้องสนิท ทำการหมักเป็นเวลา 20 วัน |
|
|
อัตราการใช้ |
|
สารป้องกันแมลงศัตรูพืช
: น้ำ เท่ากับ 1 : 200 สำหรับพืชไร่ และไม้ผล
สารป้องกันแมลงศัตรูพืช : น้ำ เท่ากับ 1 : 500 สำหรับพืชผัก และไม้ดอก |
|
วิธีการใช้ |
นำสารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้ว 50 ลิตรต่อไร่ สำหรับใช้ในพืชไร่
พืชผัก และไม้ดอก และ 100 ลิตรต่อไร่ สำหรับใช้ในไม้ผล โดยฉีดพ่นที่ใบ
ลำต้น และรดลงดิน ทุก 20 วัน หรือในช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชระบาดให้ฉีดพ่นทุก
ๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง |
|
ข้อควรระวัง
|
|
1.
เก็บสารเร่ง พด.7 ไว้ในที่ร่ม
2. เมื่อเปิดถุงแล้วใช้ให้หมดในครั้งเดียว
3. กากวัสดุที่เหลือจากการหมักให้นำไปใส่ร่วมกับการผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชครั้งใหม่ต่อไป
|
|
|
|
|
|
สารเร่งพด.8
สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสในดิน
|
|
สารเร่ง
พด. 8
ประเทศไทยมีพื้นที่ดินกรดเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศไทยมีประมาณ 140 ล้านไร่
(44เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด) ดินกรดโดยทั่วไปที่จัดว่ามีปัญหาต่อการเกษตรจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่ำกว่า5.5มีสาเหตุสำคัญเกิดขึ้นเนื่องจากการเกิดการชะล้างอย่าง
รุนแรงในอดีต และเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนถึง ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดการเอาใจใส่ในการปรับปรุงบำรุงดินรวมถึงการเผาทำลายตอซังข้าว
ซึ่งมีผลทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพิ่มมากขึ้นและทำให้ดินมีปัญหาเป็นกรด
พืชจึงไม่สามารถดูดซับธาตุ อาหารมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งฟอสฟอรัสจะถูกตรึงไว้ในดิน ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารอีกธาตุหนึ่ง ที่มีความสำคัญอย่างมาก
ต่อการ เจริญเติบโตของพืช โดยมีบทบาทต่อ
การสร้างราก การแตกกอ และการ แตกแขนงของกิ่งก้าน ทำให้มีการสร้างดอกและเมล็ดของพืชเพาะปลูก
ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดินจึงได้นำกลุ่มจุลินทรีย์
์ที่มีความสามารถในการละลายฟอสฟอรัส เพื่อเพี่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินร่วมกับ
การไถกลบตอซังและปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์
์ "สารเร่ง พด.8" สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัส ในดินที่ทำการเกษตรเป็นเวลานาน
ขาดการปรับบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ ทำให้ดินเป็น
กรดและเกิดปัญหา ในการใช้ฟอสฟอรัสกับพืช
|
|
ประโยชน์ของสารเร่ง
พด.8
1. เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดิน
2. ทำให้พืชเจริญเติบโตและสมบูรณ์
|
|
|
|
|
|
สารเร่งพด.9
สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยว
|
|
|
|
ดินเปรี้ยวเป็นปัญหาดินหลักที่เกิดจากสภาพธรรมชาติซึ่งมีผลกระทบต่อพื้นที่ทางการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มที่มี
การเพาะปลูกข้าว ประมาณ 5.3 ล้านไร่ ดินเปรี้ยวหรือดินกรดกำมะถันเป็นดินที่มีสารไพไรท์มากเมื่อสารไพไรท์นี้ถูกทำให้แห้งจะแปรสภาพเป็นสาร
ประกอบ จาโรไซท์ที่มีลักษณะเป็นจุดประสีเหลืองฟางข้าว หรือมีกรดกำมะถันเกิดขึ้นภายในความลึก
150 เซนติเมตร ทำให้ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุน
แรงมากถึงรุนแรงมากที่สุด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่ำกว่า 4.0 ระดับความรุนแรงของดินเปรี้ยวขึ้นอยู่กับระดับความลึกของชั้นดินกรด
กำมะถัน ปัญหาของดินเปรี้ยวได้แก่ ดินเป็นกรดรุนแรง ทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร
โดยจะมีอะลูมินั่ม เหล็ก และแมงกานีสละลายออกมา
มากจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูก ลดความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส น้ำมีรสฝาดไม่เหมาะสมต่อการเกษตรและใช้อุปโภค
บริโภค ในบ่อเลี้ยงปลาอาจ
เกิดความเป็นพิษของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์และคาร์บอนไดออกไซด์ดังนั้นกรมพัฒนาที่ดินจึงได้นำกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการเพิ่มความเป็น
ประโยชน์ของฟอสฟอรัสในสภาพดินดังกล่าว ร่วมกับการไถกลบตอซังและการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินสารเร่ง
พด.9 สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยวน้อยซึ่งเป็นดินกรดกำมะถันที่มีความรุนแรงของกรดน้อย
(pH 5)
ประโยชน์ของสารเร่ง พด.9
1. เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินปรี้ยวน้อย หรือ pH ไม่ต่ำกว่า
5.0
2. ทำให้พืชเจริญเติบโตและสมบูรณ์
วัสดุสำหรับผลิตจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยวน้อย
1. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
2. น้ำ 10 ลิตร
3. ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม
4. รำข้าว 1 กิโลกรัม
5. สารเร่ง พด. 9 1 ซอง (25 กรัม)
วิธีทำ
1. ละลายสารเร่ง พด. 9 ในน้ำ กากน้ำตาล และรำข้าวในถัง กวนผสมให้เข้ากันนาน
10 นาที
2. นำสารละลาย พด. 9 ผสมในปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันอย่างสม่ำเสมอ
และให้มีความชื้น 60 เปอร์เซ็นต์
3. ตั้งกองปุ๋ยหมักให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความสูง 50 เซนติเมตร
4. กองปุ๋ยหมักในที่ร่มเป็นเวลา 7 วัน แล้วนำไปใช้
|
|
|
|
|
|
สารเร่งพด.10
สารปรับปรุงดินทรายเสื่อมโทรม
|
|
เป็นสารสำหรับใช้ปรับปรุงดินทรายและดินเสื่อมโทรม
ให้มีคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและทางเคมีให้ดีขึ้น เหมาะสำหรับการ
ปลูกพืช เช่น การทำให้ดินร่วนซุย มีโครงสร้างที่คงทน ไม่ยุบตัวหรืออัดแน่นง่ายจึงทำให้ดินมีความสามารถอุ้มน้ำและรักษาความชุ่มชื้นในดินไว้ได้
้มากขึ้น
สาร พด. 10 ทำให้ดินมีความอุดม สมบูรณ์ดีขึ้น โดยไปเพิ่มความสามารถในการแลกเปลี่ยนธาตุประจุบวกของดิน
ทำให้ดินดูด
ยึดธาตุอาหารไว้ให้พืชได้นำไปใช้ได้มากขึ้น จึงช่วยลดปริมาณปุ๋ยที่จำเป็นต้องใช้อีกด้วย
พด.10 ทำมาจากขี้แป้งซึ่งเป็นแร่ดินเหนียวเบนทอไนต์ที่เป็นกากเหลือทิ้งจากกระบวนการฟอกส
ีในการผลิตน้ำมันพืชที่ใช้
สำหรับประกอบอาหารโดยนำมาหมักกับวัสดุอินทรีย์อื่นๆในสัดส่วนที่เหมาะสม เนื่องจากขี้แป้งมีความเป็นกรดอย่างรุนแรงและดูดซับน้ำมันติดมา
ได้มากถึง 30-40% จึงไม่ดูดซับน้ำ ดังนั้น ในกระบวนการหมักจึงจำเป็นต้องใส่ปูนเพื่อปรับสภาพกรดและใช้สารเร่งในการผลิตปุ๋ยหมักของกรม
พัฒนาที่ดิน (พด.1 ) ช่วยย่อยสลายให้ เร็วขึ้น
การกำจัดกากเหลือทิ้งเบนทอไนต์ส่วนใหญ่แล้ว จะนำไปใช้ถมที่หรือนำไปกอง
ทิ้งไว้ ขี้แป้งจะติดไฟง่าย และมีกลิ่นเหม็นเมื่อปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ
ทำให้เกิดมลภาวะ เป็นผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของ
ชุมชน ดังนั้นการนำขี้แป้งมาแปรรูปเป็นสารพด.10 นอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดินแล้ว
ยังช่วยแก้ ปัญหาในการกำจัดกากเหลือทิ้ง
ดังกล่าวและช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
|
|
|