สารเร่ง พด.6
สำหรับผลิตสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นจากเศษอาหารเหลือทิ้ง
ในปัจจุบัน จำนวนขยะที่เพิ่มขึ้นดูจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผลจากการทิ้งเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ต่างๆ
ได้ก่อให้เกิดมลภาวะและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรมพัฒนาที่ดิน เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้มีการพัฒนาสารเร่ง พด.6 ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดัง
กล่าว โดยการนำขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตทาง
การเกษตร มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดคอกสัตว์ บำบัดน้ำเสีย และขจัดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
ความหมายของสารเร่ง พด.6
สารเร่ง พด.6 เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักเศษอาหารในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิต
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ สำหรับทำความสะอาดคอกสัตว์ ปรับสภาพน้ำในบ่อกุ้งหรือบ่อปลา ปรับสภาพน้ำ บำบัดน้ำเสีย และลดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ ซึ่ง
ประโยชน์ของสารเร่ง พด.6
1. ทำความสะอาดคอกสัตว์ เนื่องจากค่าความเป็นกรดเป็นด่างของปุ๋ยอินทรีย์น้ำอยู่ระหว่าง 3- 4มีผลทำให้จุลินทรีย์ที่ก่อให้
้ เกิดการ เน่าเหม็นไม่สามารถเจริญเติบโตได้
2. ช่วยปรับสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งและบ่อเลี้ยงปลาให้เหมาะสมและส่งเสริมการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำที่เลี้ยง
3. ช่วยบำบัดน้ำเสียและลดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่ย่อยโปรตีน ไขมัน และผลิตกรดอินทรีย์
วิธีทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากเศษอาหารเหลือทิ้ง
1. นำเศษวัสดุและน้ำตาลผสมลงในถังหมัก
2. ละลายสารเร่ง พด.6 ในน้ำ 10 ลิตร แล้วเทลงในถังหมัก
3. คลุกเคล้าหรือคนให้ส่วนผสมเข้ากัน
4. ปิดฝาไม่ต้องสนิท ใช้ระยะเวลาหมัก 20 วัน
อัตราและวิธีการใช้
1. การทำความสะอาดคอกสัตว์และบำบัดน้ำเสียให้เจือจางปุ๋ยอินทรีย์น้ำ : น้ำ เท่ากับ 1:10 แล้วเทปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่เจือจาง
แล้วลงบริเวณที่บำบัดทุกวัน หรือทุก ๆ 3 วัน
2. การใส่ในบ่อกุ้ง และบ่อปลา ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 100 มิลลิลิตรต่อปริมาณน้ำในบ่อ 1 ลูกบาศก์เมตร ให้ใส่ทุก ๆ 10 วัน
ประโยชน์ของสารเร่งพด.6
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่าง ๆ ของพืชหรือสัตว์ โดยผ่านกระบวนการหมักในสภาพที่
ไม่มีออกซิเจน(Anaerobic Condition) มีจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืชและซากสัตว์เหล่านั้น ให้กลายเป็นสารละลาย รวมถึงการ
ใช้เอนไซด์เพื่อเร่งการย่อยสลาย ทำให้เกิดกระบวนการย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และได้ของเหลวสีน้ำตาล นับเป็นนวัตกรรมใหม่
่ที่ช่วยส่งเสริมให้สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และช่วยลดต้นทุนในการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ