สารเร่งพด.9 สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยว

 

สารเร่ง พด.9  เป็นกลุ่มจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยวน้อย ซึ่งเป็นดินกรดกำมะถันที่มีความรุนแรงของกรดน้อย (pH ไม่ต่ำกว่า 5)

    จุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยว
    หมายถึง  จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการละลายสารประกอบฟอสฟอรัสในสภาพดินเปรี้ยว โดยการผลิตกรดอินทรีย์บางชนิด
ออกมาเพื่อละลายฟอสฟอรัสให้เป็นประโยชน์ต่อพืชและในดิน
   
    คุณสมบัติของสารเร่ง พด.9
   
  • ช่วยแปรสภาพสารประกอบฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยวให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
  • เจริญได้ดีในดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.5 - 6.5
  • ผลิตกรดอินทรีย์และสารเสริมการเจริญเติบโตบางชนิดเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับพืช
     
    วิธีการขยายเชื้อสารเร่ง พด.9
   
  • กากน้ำตาล
1 กิโลกรัม
   
  • น้ำ
10 ลิตร
   
  • ปุ๋ยหมัก
500 กิโลกรัม
   
  • รำข้าว
5 กิโลกรัม
   
  • สารเร่ง พด.9
1 ซอง(25กรัม)
   
    วิธีทำ
    ขั้นตอนที่ 1 ขยายเชื้อจุลินทรีย์ 10 ลิตร
   
  • ละลายสารเร่ง พด.9 ในน้ำและกากน้ำตาลในถัง กวนส่วนผสมนาน 5 นาที ปิดฝาไม่ต้องสนิทใช้เวลาหมัก 2 วัน กวน 2 ครั้งต่อวัน
    ขั้นตอนที่ 2 ผสมเชื้อจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมัก
   
  • นำจุลินทรีย์ที่ขยายได้ ผสมในปุ๋ยหมักและรำข้าว คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันและให้มีความชื้น 60 เปอร์เซ็นต์ ตั้งกองปุ๋ยหมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความสูง 70 เซนติเมตร กองปุ๋ยหมักในที่ร่มเป็นเวลา
    ขั้นตอนการขยายเชื้อสารเร่ง พด.9
    ขั้นตอนที่ 1
   
     ขั้นตอนที่ 2
   
     การดูแลรักษาการขยายเชื้อสารเร่ง พด.9
   
  •  การดูแลรักษาการขยายเชื้อสารเร่ง พด.9
  • รักษาความชื้นอย่างสม่ำเสมอในระหว่างการขยายเชื้อในกองปุ๋ยหมัก โดยใช้วัสดุคลุมกองปุ๋ยหมัก
   
    อัตราและวิธีการใช้เชื้อสารเร่ง พด.9
   
  • ข้าว ใช้ 100 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านตามหลังการไถกลบตอซังหรือไถแปร
   
  • พืชไร่ พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ ใส่ 100 กิโลกรัมต่อไร่ ระหว่างแถวปลูกพืชหรือหว่านทั่วแปลง
   
  • ไม้ผล ไม้ยืนต้น ใช้ 3 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ตอนเตรียมหลุมปลูกโดยคลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูก และช่วงพืชเจริญหว่านให้ทั่วทรงพุ่ม
   
  • แปลงเพาะกล้า ใส่ 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร หว่านให้ทั่วแปลงเพาะกล้า
   
    ประโยชน์ของสารเร่ง พด.9
   
  • เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยวน้อยหรือค่า pH ของดินไม่ต่ำกว่า 5.0
   
  • ทำให้พืชเจริญเติบโตและสมบูรณ์
    ข้อปฏิบัติ
   
  • ห้ามเผาตอซัง ให้ไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
   
  • ปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือวัสดุปรับปรุงดิน